เเผนการเรียน 2


แผนการจัดการเรียนรู้
รหัสวิชา 20262                                  ชื่อรายวิชา อาหารว่าง                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ ที่ 5                               เรื่อง อาหารว่างไทยใส่ใจสุขภาพ       จำนวน 8 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 10                       เรื่อง การทำทองม้วนกรอบ                เวลา 2 ชั่วโมง



1. มาตรฐานการเรียนรู้
          มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ  มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ  มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
2. ผลการเรียนรู้
         สามารถปฏิบัติอาหารว่างไทย “ทองม้วนกรอบ” ได้ถูกต้อง
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
           1)  เลือกส่วนผสมในการทำทองม้วนกรอบได้ถูกต้อง
          2)  เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำทองม้วนกรอบได้เหมาะสม
          3)  ปฏิบัติการทำทองม้วนกรอบได้
     4) บอกลักษณะที่ดีของทองม้วนกรอบได้ถูกต้อง
     5)  บอกเคล็ดลับการทำทองม้วนกรอบได้ถูกต้อง
          6)  บอกคุณค่าทางโภชนาการของทองม้วนกรอบได้ถูกต้อง
4.สาระสำคัญ
ทองม้วนกรอบเป็นอาหารว่างไทย ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งยังเป็นอาหารว่างที่วัตถุดิบหาง่าย และเก็บไว้ได้นาน
5.สาระการเรียนรู้
        5.1  สาระการเรียนรู้
              1) ส่วนผสมทองม้วนกรอบ
              2)  เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำทองม้วนกรอบ
              3)   วิธีทำทองม้วนกรอบ
              4)   ลักษณะที่ดีของทองม้วนกรอบ
              5)   เคล็ดลับการทำทองม้วนกรอบ
              6)   คุณค่าทางโภชนาการของทองม้วนกรอบ


    5.2  ทักษะกระบวนการ
            1)  เลือก  จัดเตรียม  และดูแลเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำทองม้วนกรอบได้ถูกต้องและเหมาะสม
    .       2)  เลือก และเตรียม ส่วนผสมในการทำทองม้วนกรอบได้ถูกต้องและเหมาะสม
           3)  ปฏิบัติการทำทองม้วนกรอบได้ถูกต้องตามขั้นตอน
     5.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์        
  1)  รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ
            2)  มีอนามัยส่วนบุคคลที่ดี
            3)  ความรับผิดชอบ   
   5.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
            ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
            1)  ทักษะการทำงาน
            2)  กระบวนการทำงานกลุ่ม
            3)  กระบวนการปฏิบัติ
6. ภาระงาน (สะท้อนการจัดกิจกรรม)
          เตรียมส่วนผสมมาปฏิบัติ

7. กิจกรรมการเรียนรู้
โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ  (การปฏิบัติจริง)
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่กิจกรรมการปฏิบัติ       
      1)  นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ กลุ่มละ 5 6 คน
      2)  ทุกกลุ่มศึกษาเอกสารประกอบการเรียน  เล่มที่ 5  อาหารว่างไทยใส่ใจสุขภาพ เรื่องทองม้วนกรอบ ขณะนักเรียนศึกษาเอกสารประกอบการเรียน ครูสังเกตพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคล
          3)  นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายสรุปส่วนผสม  ขั้นตอนการทำทองม้วนกรอบ ลักษณะที่ดี เคล็ดลับ และคุณค่าทางโภชนาการของทองม้วนกรอบ
  ขั้นที่  2.  ขั้นลงมือปฏิบัติ
          1)  นักเรียนทุกกลุ่มปฏิบัติ เรื่อง ทองม้วนกรอบในเอกสารประกอบการเรียนเล่มที่ 5   อาหารว่างไทยใส่ใจสุขภาพ  ขณะที่นักเรียนปฏิบัติ 
         2)  ครูสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม พฤติกรรมนักเรียนเป็นรายบุคคล และประเมินการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งให้คำแนะนำ 
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปประเมิลผลงานและขบวนการทำงาน
       1)  เมื่อนักเรียนปฏิบัติเสร็จ  ให้นักเรียนจัดอาหารส่ง  1  ที่  เพื่อประเมินผลงาน   
       2)  นักเรียนและครูร่วมกันประเมินผลงาน ทองม้วนกรอบ  ถ้าทองม้วนกรอบมีลักษณะดี 
8. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
     8.1 สื่อการเรียนรู้
         1)  เอกสารประกอบการเรียนเล่มที่ 5  อาหารว่างไทยใส่ใจสุขภาพ เรื่องทองม้วนกรอบ
         2)   เครื่องมือ เครื่องใช้การทำทองม้วนกรอบ เช่น  หม้อ  ทัพพี  เตาแก๊ส ฯลฯ
         3)   ส่วนผสมในการทำทองม้วนกรอบ เช่น แป้ง กะทิ  เกลือป่น  น้ำตาลปี๊บ ฯลฯ
      8.2  แหล่งเรียนรู้
          อินเตอร์เน็ต www.Foodtravel.tv

9.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
     9.1  วิธีการวัด
         1)  สังเกตพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคล
         2)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
         3)  สังเกตทักษะการปฏิบัติงาน
         4)  ประเมินผลงาน เรื่องทองม้วนกรอบ
ทองม้วนกรอบ  เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง  ที่มีอายุยาวนาน  คนส่วนมากจะรู้จักขนมชนิดนี้กันเป็นอย่างดี  ในอดีตที่ผ่านมาทองม้วนกรอบจะเป็นขนมที่คู่กับครอบครัวมาโดยตลอด  ซึ่งจะพบเห็นได้ในปีบ  ในโหลที่เก็บไว้บนชั้นในครัว  ไว้ให้ลูกหลานรับประทานเป็นอาหารว่าง เพื่อประทังความหิวก่อนมื้ออาหาร
                   ทองม้วนกรอบ  เป็นการนำแป้งมาทำให้กรอบและหอม  เพื่อให้เก็บไว้ได้นาน และแป้งที่ใช้  สามารถใช้แป้งข้าวเจ้ากล้องแทนแป้งข้าวเจ้าได้  และถ้าใส่พริกไทยและงาด้วย  จะทำให้ทองม้วนยิ่งมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน  และมีประโยชน์


                                                                                    ทองม้วนกรอบ







เครื่องมือ  เครื่องใช้
 



            พิมพ์ทองม้วน  อ่าง  เครื่องบดผสมอาหาร  แท่งไม้สำหรับม้วนแป้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 1.5 เซนติเมตร  ชาม  ช้อน  ถุงมือผ้า  เกียงแซะ  ถ้วยตวงของเหลว  ถ้วยตวงของแห้ง  ช้อนตวง  ทัพพี


ส่วนผสม
 


·                   แป้งมันร่อนแป้งก่อนตวง                    6  1/4      ถ้วยตวง
·                   แป้งข้าวเจ้ากล้อง                               1/4      ถ้วยตวง
·                   นมสด                                           1/2      ถ้วยตวง      
·                   หัวกะทิข้น ๆ  (ใช้เฉพาะหัวกะทิ)                 1             ถ้วยตวง
·                   ไข่ไก่ขนาดกลาง                                   2      ฟอง
·                   เกลือป่น                                     1  1/2     ช้อนชา 
·                   งาดำคั่ว                                            1      ช้อนชา
·                   น้ำตาลปีบ                                   1  1/2      ถ้วยตวง   
        อุปกรณ์เฉพาะ
·       พิมพ์ทองม้วน
·       เกียงแซะ
·       ถุงมือผ้ากันความร้อนได้
·                 ไม้กลมความยาว 6 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร หรือตามความต้องการจะให้ทองม้วนมีขนาดเล็ก-ใหญ่











วิธีทำ
 


 









1.   เตรียมส่วนผสมทองม้วนกรอบข้าวเจ้ากล้องให้พร้อม





    








1.     นำแป้งทั้ง  2  ชนิด  ผสมให้เข้ากัน
2.     ใส่ไข่ลงในแป้ง  ค่อย ๆ ใส่หัวกะทิ  นวดจนนิ่มมือ  บี้แป้งอย่าให้แป้งเป็นเม็ด
3.     ใส่นมสด  เกลือป่น  น้ำตาลปีบ  คนจนส่วนผสมละลายหมดและเข้ากันดี(ใช้เครื่องบดผสมอาหารปั่นจะทำให้แป้งเนื้อละเอียด)








4. นำส่วนผสมที่ได้มากรองด้วยผ้าขาวบาง
5. แบ่งส่วนผสมที่ได้ใส่ชาม  โรยงาดำ









6. เตรียมพิมพ์ทองม้วนให้ร้อน  ตักแป้งประมาณครึ่งช้อนโต๊ะหยอดตรงกลาง    ปิดฝาพิมพ์ทิ้งไว้สักครู่ รอเวลาเล็กน้อย 










7. เปิดฝาพิมพ์  ดูแป้งให้มีสีเหลืองทองสวย


                                                        









8. เมื่อแป้งมีสีเหลืองทองสวย 











9. รีบพับริมทั้ง  2  ข้างเข้าหากัน








10. ใช้ไม้ลักษณะกลมเล็ก แล้วแต่จะชอบขนาดใดม้วนจากริม  ให้มีลักษณะเป็นแท่งกลม ถ้าเครื่องทำทองม้วนมีหลายพิมพ์  ไม่ต้องรอเวลาให้แป้งเหลือง  สามารถตักแป้งหยอดพิมพ์อื่นต่อไป  แล้วค่อยย้อนกลับมาเปิดดูพิมพ์แรกจะได้เวลาที่เหมาะสมพอดีที่แป้งมีสีเหลืองทอง








11.        จัดเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิด ไม่ให้ถูกลม
สูตรนี้ได้ขนมทองม้วนกรอบข้าวเจ้ากล้องประมาณ 240 ชิ้น
ลักษณะที่ดีของทองม้วนกรอบข้าวเจ้ากล้อง
¯ รสชาติหวาน  มัน  เค็ม  กลมกล่อม
¯ เนื้อแป้งไม่หนา หรือ แข็งจนเกินไป
¯ แป้งกรอบ
¯ กลิ่นหอมงา และกะทิ

10.บันทึกหลังการสอน

  10.1 ด้านความรู้
          -นักเรียนเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำทองม้วนกรอบได้เหมาะสม
          -นักเรียนเลือกส่วนผสมในการทำทองม้วนกรอบได้ถูกต้อง
  10.2 ด้านทักษะกระบวนการ
- นักเรียนปฏิบัติการทำทองม้วนกรอบได้ 
  10.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
          คุณลักษณะอันพึงประสงค์
          -  นักเรียนบางคนขาดวินัย ไม่เก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในที่เหมาะสมหลังจากใช้แล้ว
          -  นักเรียนใฝ่เรียนรู้
          -  นักเรียนรู้จักประหยัดซื้อวัตถุดิบมาได้เหมาะสม
          -  นักเรียนบางคนมาไม่ตรงต่อเวลา 

9.4 ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
     ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
            1)  กระบวนการปฏิบัติ
            2)  กระบวนการทำงานกลุ่ม
ปัญหาอุปสรรค/ข้อเสนอแนะอื่นๆ
       ปัญหาอุปสรรคเกิดจากเตาทองม้วนมีไม่พอเพียงกับการปฏิบัติงาน

แนวทางแก้ไข / แนวทางการพัฒนา
     จัดให้มีเตาทองม้วนอย่างพอเพียงที่จะปฏิบัติงาน